GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น




ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น

จิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาจะมีลักษณะที่เบา มีลักษณะที่นุ่มนวลอ่อนโยน มีลักษณะที่ปราดเปรียวว่องไว ไม่หนักไม่แน่นไม่แข็งไม่ซึมไม่ทื่อ

ถ้านั่งสมาธิแล้วจิตแน่นจิตแข็งจิตซึมจิตทื่อ ให้รู้เลยว่าเป็นมิจฉาสมาธิแล้วล่ะนะ นอกรีตนอกรอยแล้ว ไม่ใช่สมาธิในทางศาสนาพุทธแล้ว หรือนั่งแล้วเคลิ้มง่อกๆแง่กๆขาดสตินะ ใช้ไม่ได้เลย จิตไม่ได้มีความคล่องแคล่วว่องไวควรแก่การงาน จิตสะลึมสะลือ หรือจิตเที่ยวเห็นโน้นเห็นนี่ออกข้างนอกไป จิตไม่อยู่กับฐาน สิ่งเหล่านี้ใช้ไม่ได้ทั้งสิ้นเลย

ถ้าเรามีสมาธิที่ถูกต้องเนี่ย จิตจะมีความตั้งมั่นอยู่กับตัวเอง จิตตั้งมั่นอยู่กับจิต เรียกว่าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ จิตหนีไปเมื่อไหร่มันก็ลืมกายลืมใจ มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ แต่ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จิตจะเบาสบาย นุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว มีความสุขความสงบอยู่ในตัวเอง จิตจะถอยตัวออกมาจากรูปธรรมนามธรรม เพราะไม่ไหลเข้าไปในปรากฏการณ์ทั้งหลาย จิตจะถอยตัวออกมาเป็นคนดู

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม





“วสี"  ความชำนาญในการเข้า-ออกสมาธิ

ถาม : ขอความเมตตาพระอาจารย์แนะนำเรื่องการนั่งสมาธิ หากเรานั่งถึงจุดสงบแล้ว ไม่ต้องนึกถึงคำบริกรรมจิตรวมเป็นหนึ่งแล้ว แต่ก็สงบจริงๆ แบบนั้น จะเจริญปัญญาต่อไปก็ได้แต่รู้ว่ากำลังพิจารณากาย ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่า


พระอาจารย์ : เวลาจิตสงบรวมลงแล้ว จิตจะไม่คิดปรุงแต่งจะสักแต่ว่ารู้เฉยๆ เวลานั้นไม่ใช่เวลาจะเจริญปัญญา ไม่ใช่เวลาจะใช้ความคิด เวลานั้นเป็นเวลาที่จะให้เสพความสุขที่เกิดจากความสงบ ให้จิตตั้งอยู่ในความสงบจนกว่าจิตจะถอนออกมาเอง อย่าไปบังคับสั่งจิต เช่นเวลาพอจิตสงบปั๊บไม่มีความคิดแล้วก็เริ่มสั่งให้คิดไปในทางปัญญา อันนี้ไม่ใช่เป็นวิธีที่ถูกเราต้อง

การให้จิตสงบให้นิ่งให้นานที่สุด เป็นอุเบกขาให้ได้นานที่สุด เพราะว่าเราต้องการกำลังของอุเบกขาต้องการกำลังของความสงบนี้มาเป็นเครื่องที่จะสนับสนุนทางปัญญาต่อไป เราจะใช้ปัญญาก็ต่อเมื่อจิตถอนออกจากความสงบแล้วเริ่มคิดปรุงแต่ง พอคิดปรุงแต่งแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่งหรือว่าจะลุกขึ้นมาเดิน เราก็ต้องสอนใจให้คิดไปในทางปัญญาคือให้พิจรณาความเสื่อม พิจารณาความไม่เที่ยงของสภาวะธรรมทั้งหลายเช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าไม่เที่ยงว่าเป็นอนัตตา เราไม่สามารถควบคุมบังคับสั่งให้เขาเป็นอะไรได้ตามความอยากของเรา
ถ้าไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั้น พอไม่ได้ตามความอยากก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา ถ้าไม่อยากจะทุกข์ใจก็ต้องรู้ไว้เฉยๆ แล้วก็อย่าไปอยาก ทำอะไรได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ต้องยอมรับกับสภาพมันไป แต่ใจจะไม่ทุกข์ ถึงแม้ว่าจะเสียทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองเสียคนรักไป ใจจะไม่ทุกข์ถ้าไม่มีความอยากให้เขาอยู่กับเรา

นี่คือเรื่องของการปฏิบัติ ควรจะปรับนิดหน่อยเวลาสงบอย่าเพิ่งไปคิดอะไร ให้สงบให้นานๆ แล้วควรจะทำสมาธิให้ชำนาญด้วย คือต้องเข้าออกได้อย่างชำนาญอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่กว่าจะเข้าได้นี่ต้องใช้เวลาตั้งครึ่งชั่วโมง อย่างนี้แสดงว่ายังไม่ชำนาญทางสมาธิ แสดงว่าสติยังมีกำลังไม่มากพอ

ถ้าออกมาจากสมาธิแบบนั้น ก็ควรที่จะมาเจริญสติต่อควบคุมใจไม่ให้คิดอะไรไปก่อน ฝึกควบคุมความคิดไว้ให้ได้ก่อน จนกว่าจะสามารถเข้าสมาธิได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย แล้วหลังจากนั้นถึงควรที่จะออกไปในทางปัญญาหลังจากที่ออกจากสมาธิมาแล้ว.

ธรรมะบนเขา วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖

“ยาของพระพุทธศาสนา”

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





การกําหนดพุทโธ นั้นเป็นอุบายของท่านผู้สอนที่ต้องการจะให้จิตมีที่ยึดมั่นเอาไว้กับพุทโธด้วยอีกอย่างหนึ่ง เป็นวิธีที่
เหมาะสําหรับผู่ที่จิตว่อกแว่กมาก จะทําให้ จิตมีที่ยึดเพิ่มไปยึดพุทโธไว้แทน ทําให้ว่อกแว่กน้อยลง แต่การที่จะกําหนดพุทโธหรือไม่ ก็ขอให้ขึ้นกับจริตของแต่ละคน เพราะคําว่าพุทโธช่วยให้จิตตั้งมันเพียงอย่างเดียว แต่จุดที่สําคัญกว่า คือได้ตามรู้ลมหายใจหรือตามรู้ความรู้สึกตัว หรือดูกายดูใจประกอบไปด้วยหรือเปล่า ถ้าท่องแต่เพียงพุทโธแล้วไม่ได้ตามดูลมหายใจไปด้วย เท่ากับว่าเรากําลังทิ้งการเจริญสติปัฏฐานไป แล้วไปท่องเพ่งเป็นสมถะแต่เพียงพุทโธเท่านั้น ซึ้งการเจริญในสติปัฏฐาน นั้นมีความสําคัญมากกว่ามากๆ  แต่ทั้งนี้ต้องดูให้ดีนะ ท่านผู้สอนอาจต้องการสอนกับบุคคลใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเลยให้ทําอย่างนั้นเพื่อประโยชน์อันเป็นเฉพาะกับคนๆ นั้น ที่นี้คนอื่นไปฟังมาแล้วไปคิดว่า ต้องทําอย่างนี้ตามจึงดี แต่จริงๆ แล้วอาจไม่เหมาะกับจริตเราก็ได้ หรือคนอื่นๆ ก็ได้ สําหรับตัวผมเองเห็นว่าการตามรู้ลมหายใจของเราหรือการตามรู้ความรู้สึกตามรู้กาย มีความสําคัญกว่าและผมเองก็ละการท่องพุทโธ หรือคําบริกรรมอื่นใดทั้งหมด แม้แต่ขณะทําสมาธิก็ตาม แต่ผมกล่าวอย่างนี้ไม่ใช่การใช้คําบริกรรมไม่ดีนะครับ ผมเองเห็นว่าดีครับ เพียงแต่ดีและเหมาะกับผู้ใดมากกว่า ผู้สอนที่มีฌาณสูงๆ มักจะดูและเห็นแล้วครับคนคนกลุ่มไหนเหมาะกับอะไรครับ


เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อความมักน้อย(สมถะ – ผู้ถอด) เพื่อความสันโดษ(พอเพียง ยินดีในสิ่งที่ตนมี ในสิ่งที่ตนได้มาตามความชอบธรรม ประกอบด้วยศีลด้วยธรรม ตามกฎหมาย – ผู้ถอด) เพื่อความไม่คลุกคลี(วิเวก – ไม่คลุกคลีด้วยอกุศล ด้วยกิเลส เว้นแต่ทำตามหน้าที่อันสมควรแก่ธรรม สมควรตามความรับผิดชอบ – ผู้ถอด) เป็นเพื่อความพัฒนาของศีล เป็นไปเพื่อความมีสมาธิ

สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ จิตสงบในอารมณ์อันเดียว จิตใจของเราโดยปกตินี้ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา มันวิ่งไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ วิ่งไปหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง อยากจะมีความสุขวิ่งไปดูหนัง ดูแล้วยังไม่หายกลุ้มวิ่งไปฟังเพลง ฟังเพลงแล้วหิวอีกแล้วก็วิ่งไปหาอะไรกินอีก จิตใจนี้จะวิ่งพล่าน พล่าน พล่าน พล่าน ไปตลอดเวลาเลย เรียกว่าใจฟุ้งซ่าน

ถ้าต้องการฝึกสมาธิให้ใจสงบนะ เรามารู้จักเลือกอารมณ์ ถ้าจิตของเราอยู่ในอารมณ์ชนิดไหนที่มันไม่ยั่วกิเลส เป็นอารมณ์ที่ดี อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นแล้วมีความสุข จุดสำคัญอยู่ที่ว่า เลือกอารมณ์ที่มีความสุขมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต เมื่อจิตได้อยู่ในอารมณ์ที่มีความสุขอันเดียวนะ จิตจะไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นๆ จิตก็สงบ นี่คือหลักของสมถกรรมฐาน เคล็ดลับมีเท่านี้เอง ที่นั่งสมาธิกันปางตาย ทำแล้วยังไงก็ไม่สงบ ก็เพราะไม่รู้เคล็ดลับ หลวงพ่อนั่งสมาธิเป็นตั้งแต่ ๗ ขวบ นะ ก็เลยสรุปเคล็ดลับได้ว่าเราต้องอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข

อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กๆเนี่ย หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ อยู่กับลมหายใจนะ มีความสุข หายใจแล้วมีความสุข หายใจแล้วมีความสุข ใจก็ไม่ฟุ้งไปที่อื่นเลย ใจก็จะอยู่สงบอยู่กับลมหายใจ ลมหายใจกลายเป็นแสงไป ลมก็สว่างกลายเป็นแสงสว่าง เป็นดวงสว่างขึ้นมา ก็สงบอยู่กับแสง นี่คือหลักของการทำสมาธิ (หมายถึง สมถกรรมฐาน – ผู้ถอด)

สมาธิบางอย่างไม่มีแสงนะ ไม่มีดวงนิมิต อย่างการเจริญเมตตาเนี่ย เราแผ่เมตตาไปเรื่อย จะไม่มีดวงปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้น จิตก็ทำความสงบปราณีตได้ คนไหนขึ้โมโห ก็แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ เวลาที่แผ่เมตตาไม่ต้องไปเค้นเมตตาออกจากใจ แผ่ๆ อย่างนี้นะ ไม่ไปหรอก เมตตานะ แต่ถ้าจะแผ่ก็นั่งนึกเอา นั่งนึกเอา “สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้สัตว์ทั้งหลายได้รับส่วนบุญที่เราทำแล้วทั้งหมดด้วยเถิด ทุกๆคน ทุกๆคน เลย” เนี่ยนึกไปเรื่อยนะ นึกอย่างนี้เรื่อยๆ บริกรรมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆเย็นขึ้นมา ใจค่อยสงบสบาย พวกขี้โมโหนะ แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ แผ่ทั้งวันเลยก็ได้ ใจมันจะค่อยเย็นๆมีความสุข
ึ้นมา

คนขี้โลภ พวกราคะมากอะไรอย่างนี้ จะพิจารณาร่างกาย ดูร่างกายเป็นส่วนๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ของไม่สวยไม่งาม พิจารณาไปเรื่อย ใจก็สงบจากราคะ ไม่ฟุ้งไป

ใจโกรธก็คือใจมันฟุ้งไป กระทบอารมณ์แล้วไม่พอใจ ในโลภก็คือมันฟุ้งไป ไปกระทบอารมณ์แล้วพอใจ ใจหลงก็คือใจมันฟุ้งไปตามอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้นหากว่าคนไหนขี้หลง ใจลอยบ่อยอะไรบ่อยนะ หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป พอจิตหนีไปแล้วก็รู้เอา ใจก็ค่อยสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขได้ล่ะก็ สมาธิก็เกิด ได้สมาธิชนิดที่ ๑

สมาธิชนิดที่ ๑ เป็นสมาธิที่จิตสงบในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” อารัมณะ ก็คือคำว่า อารมณ์นั่นเอง คนไทยไปตัดไม้หันอากาศออก ถ้าภาษาที่ถูกก็คือ อารัมณะ ยกตัวอย่างพระอานนท์นะ คนไทยเรียกพระอานนท์เนี่ย ถ้าเราย้อนขึ้นไทม์แมชชีนไปวัดเชตวัน ไปถามหาพระอานนท์ จะไม่มีใครรู้จักเลย ต้องถามหาพระอานันท์ เนี่ยเขาตัดไม้หันอากาศออกไป คนไทย

เพราะฉะนั้นอารัมณูปนิชฌานนะ ให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวได้เพราะจิตรู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข ถ้าทำได้นะ จิตใจก็มีความสุข ร่มเย็นเป็นสุข ไม่เครียด ไม่เครียดเลย แต่ว่าไม่เดินปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม



ให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง จิตผู้เพ่ง กับ จิตผู้รู้

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นร่างกายของตัวเองได้ ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นจิตใจของตนเองได้ ถ้าใจไม่ตั้งมั่น ใจไหลไปทางตา เราจะไปเห็นรูปภายนอก ถ้าใจไหลไปทางหู เราจะไปได้ยินเสียง ถ้าใจไหลไปทางจมูก เราจะไปได้กลิ่น ถ้าใจไหลไปที่ลิ้น เราจะได้รส ถ้าใจไหลไปตามผิวกาย เราจะรู้สึกสัมผัสภายนอก เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวอะไรข้างนอกได้ ข้างในก็รู้สึกได้ แต่จิตมันเคลื่อนทั้งสิ้นเลย เช่น รู้สึกท้อง ที่กระเพื่อมไปกระเพื่อมมา จิตเคลื่อนไปที่ท้องนั่นเอง

เพราะนั้น ถ้าจิตเคลื่อนไปนะ มันจะรู้ออกนอก และถ้าจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูเนี่ย มันจะย้อนเข้ามา ดูกายดูใจของตนเอง โดยที่จิตนั้น”เป็นผู้รู้ ผู้ดู” ตัวนี้แหล่ะ ตัวแตกหัก ถ้าเราสามารถพัฒนาจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูได้ เรียกว่าเราได้ “ลักขณูปนิชฌาน”

ลักขณูปนิชฌานเนี่ย เป็นสมาธิที่สำคัญที่สุดเลย แต่อาภัพ คนไม่รู้จัก คนรู้จักแต่”อารัมมณูปนิชฌาน” สมาธิมี ๒ ชนิดนะ สมาธิชนิดที่ ๑ ชื่อ “อารัมมณูปนิชฌาน” จิตไปเพ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียว เช่น ไปเพ่งอยู่ที่พุทโธ ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ไปเพ่งอยู่ที่ท้องพองยุบ ไปเพ่งอยู่ที่มือที่เท้า อันนั้นจิตออกนอก “ลักขณูปนิชฌาน” จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูขึ้นมา แล้วมันจะเห็นเลย ร่างกายมันแสดงไตรลักษณ์ได้ จิตใจแสดงไตรลักษณ์ได้

งั้นถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน จิตออกนอกเนี่ย หลายสำนวนนะ อันเดียวกันนั่นแหล่ะ คือจิตมันส่งไปข้างนอก ทางตาหูจมูกลิ้นกาย หรือส่งไปคิดไปนึก มันจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ เราต้องมาฝึกนะ ตัวนี้เป็นตัวแตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลหรือไม่ ถ้าเราไม่มี”ลักขณูปนิชฌาน” ไม่มีจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ละก็ เรายังไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้

อารัมณูปนิชฌานคือ สมาธิเพ่งอารมณ์นี้ ใช้ทำสมถะกรรมฐาน แล้วก็ใช้สำหรับมีชีวิตอยู่กับโลก อย่างเป็นต้นว่า เราจะเขียนซอฟท์แวร์อะไรเนี่ยนะ ซักอันนึงนะ สมาธิเราต้องออกนอก ไปอยู่ที่ความคิดใช่ไหม เราถึงจะเขียนซอฟท์แวร์ได้ อันนี้เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” นั่งเพ่งไฟ นั่งเพ่งลมหายใจ นั่งเพ่งท้อง อันนี้เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ไปเพ่งตัวอารมณ์


ส่วน“ลักขณูปนิชฌาน”เนี่ย ใช้ตอนไหนบ้าง ลักขณูปนิชฌานใช้ในขณะแห่งวิปัสสนากรรมฐาน ใช้ในขณะที่เกิดอริยมรรค ใช้ในขณะที่เกิดอริยผล ใช้ในขณะที่พระอริยเจ้าเข้าผลสมาบัติ ผลสมาบัติก็คือ เกิดผลจิต จิตในขณะที่บรรลุโสดาฯ สกทาคาฯนั่นแหล่ะ จะเกิดผลอย่างนั้นซ้ำขึ้นมา แต่ว่าไม่ล้างกิเลส เพราะมีแต่ผล ไม่มีมรรค งั้นเป็นสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ใช้ลักขณูปนิชฌาน จิตตั้งมั่นถึงฐานเลย



เมื่อปฏิบัติสมาธิไปถึงจุดหนึ่ง คําบริกรรมจะหายไป จะหายไปเอง แล้วจิตเราจะตั้งมั่นเด่นอยู่ในจุดที่เราตั้งมั่น และถ้าสมาธิไปลึกต่อไปอีก กายเราตัวเราจะเบาจะไร้นํ้าหนักกดทับใดๆทั้งสิ้น ถึงตรงนี้จะเหมือนไม่มีกายแล้วแต่ก็จะรู้ว่ากายนั้นยังมีอยู่ และถ้าสมาธิละเอียดลึกขึ้นไปอีก ลมหายใจที่เราใช้ยึดอยู่ก็จะค่อยๆหายไปด้วย ตรงจังหวะที่ลมหายใจหายไปแล้วนี้บางคนถ้าตกใจและหลุดจากสมาธิระดับนั้นถอยออกมา จะเกิดการสําลักอากาศหรือหายใจได้ ฉะนั้นอย่าไปวิตกกังวลไม่มีลมหายใจก็ไม่เป็นไรครับ มันจะอยู่ในสภาวะสงบนิ่งลึกๆ แต่มีสติรู้ตัวตลอด ตอนนี้ให้เปลี่ยนจากการตามรู้ลมหายใจ (เพราะไม่มีลมแล้ว) มาอยู่ที่การรับสัมผัสกาย ที่กายตนแทน ตรงนี้ความรู้สึกที่ผ่านกายจะไวไวมากรับรู้ถึงกระแสเลือดกระแสประสาทที่วิ่งอยู่ในกาย และจากนี้ก็จะเข้าสู่สภาวะที่สมาธิลึกมาก เสียงจะหายไปจากการรับรู้ เช่นใครมาทําเสียงดังข้างหูก็ไม่ได้ยิน และต่อจากนั้นสมาธิที่ลึกมากๆ ใครมาเขย่ากายก็ไม่รู้ การเกิดสภาวะทางกายจะเป็นตามลําดับอย่างนี้



" เล่นกับลม เหมือนเป็นหนึ่งเดียวกับลม "


การพิจารณาลม อย่างอ่อนโยน อย่างแผ่วเบา ละเอียดอ่อน เล่นกับลมหายใจ ดึงลมเข้าผ่อนลมออก โดยระลึกรู้อยู่กับลม ทําได้อย่างนี้ สมาธิจะก้าวหน้ามากๆครับ ทําเหมือนเล่นลมรู้ไป กับลมเหมือนไม่ได้ตั้งใจทํา แต่เล่นรู้ไปกับลม สิ่งนี้สําคัญนะครับ



"ผู้ที่มีสมาธิแล้ว คำพูดมักจะศักดิ์สิทธิ์ 
สามารถที่จะโน้มน้าวจิต ของผู้อื่นได้" 

ถ้าหากสมมติว่าเราโกรธใครสักคนหนึ่ง อย่าไปแช่งเขา 
ให้ทำสมาธิ ให้แผ่เมตตาให้เขามากๆ 

ในเมื่อเราแผ่เมตตาให้เขามากๆ มันจะเกิดผลขึ้นมา ๒ อย่าง
อย่างหนึ่ง เขามาดีกับเรา
อย่างที่ ๒ ถ้าเขาไม่ยอมมาดี เขาก็พังไปเอง เราไม่ต้องแช่ง

ถ้าแช่งแล้วเราก็เป็นบาป แล้วก็ทำให้เราเสื่อมคุณธรรมด้วย...

-หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY