GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

"นิพพิทาญาณ" ความเบื่อหน่ายในนามรูป



ธรรมดาคนทำนา-ทำสวน เขาไม่ได้ทำกันบน อากาศเลย
เขาทำกันบน พื้นดิน จึงได้รับผล ฉันใด

พระโยคาวจรทั้งหลาย ก็ย่อมพิจารณา "ร่างกาย"
นี้แหละ เป็นอารมณ์ ... จึงเกิด "นิพพิทา" ความเบื่อหน่ายในนามรูปนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละ จึงจะเป็น "ทางหลุดพ้น" ได้ ฉันนั้น

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)


หนังสือตัวเล็กๆ มันเรียนง่าย เรียนแล้วก็หลง
เรียนตัวใหญ่ คือ เรียนกาย เรียนใจของตัวเอง
ถ้าได้ตัวนี้ล่ะ ไม่มีหลง

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

 
การตำหนิ-ติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริง
ก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเอง ให้ขุ่นมัวไปด้วย


ม้าศึก ต้องฝึกอยู่เสมอ ขุนศึกขี้คร้าน ก็เท่ากับ
เอาหัวไปให้ศัตรู ตัดเล่นเท่านั้นเอง ... เราไม่รู้
จะเกิดศึกสงคราม เวลาใด ... "ความตาย" มาถึงเมื่อไร
เราไม่รู้ ... มารู้ ก็ตอนแย่แล้ว



การดูกิเลส และ แสวงธรรม ... ท่านทั้งหลาย อย่ามองข้ามใจ
ซึ่งเป็นที่อยู่ของกิเลส และ เป็นที่สถิตอยู่ของธรรมทั้งหลาย
กิเลสก็ดี ธรรมก็ดี ... ไม่ได้อยู่กับ กาลสถานที่ใดๆ ทั้งสิ้น แต่อยู่ที่ "ใจ"
คือ เกิดขึ้นที่ใจ เจริญขึ้นที่ใจ และดับลงที่ใจ ดวงรู้ๆ นี้เท่านั้น

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)









ไม่ต้องส่งใจไปในอดีต อนาคต 
ให้ลบอารมณ์ภายนอกออกให้หมด 
จึงจะเข้าอารมณ์ภายในได้ 
เพ่งนอกเป็นตัวสมุทัย เป็นทุกข์ 
และเป็นตัวมิจฉาทิฏฐิ
เพ่งในเป็นตัวสัมมาทิฏฐิ 
จะเป็นนักปฏิบัติต้องเด็ดเดี่ยวกล้าหาญที่สุด
จึงจะรู้ธรรมเห็นธรรม..

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต





เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๑

เทวดาป้องกันอากาศหนาวให้..หลวงปู่

ท่านฯ เล่าว่า ปีนั้นท่านพักอยู่บนดอยมูเซอ พร้อมด้วยพระมหาทองสุก อากาศหนาวมากเป็นพิเศษกว่าทุกปี หากมีเครื่องวัดก็คงจะติดลบหลายองศา ขนาดชาวบ้านไม่ยอมหนีจากกองไฟตลอดวันตลอดคืน ทั้งสองท่านก็รู้สึกหนาวมาก ติดไฟก็ไม่ค่อยจะติด น้ำค้างแข็งเป็นน้ำแข็งหมด เอาละตัดสินใจจะหนาวตายวันนี้ก็ยอม กลับขึ้นไปกุฏิ ท่านฯ ไหว้พระสวดมนต์เสร็จเข้าสมาธิทันที พอจิตสงบ ท่านเห็นบุคคลหนึ่งพร้อมบริวาร 4 คน ผู้เป็นหัวหน้าแต่งตัวแบบกษัตริย์ ทรงผ้าสีแดง มาชี้บอกให้บริวารกางผ้าม่านให้ท่านทั้ง 4 ทิศ ทั้งข้างบนข้างล่าง

จึงกำหนดพิจารณาว่าเป็นใครนั่น แต่ไม่ได้ถามพระยาองค์นั้น เพราะเห็นกำลังสาละวนอยู่กับการกางผ้าม่าน รู้ในใจขึ้นมาว่า เป็นท้าวเวสสุวรรณ มาป้องกันอากาศหนาวให้ โดยใช้ผ้าม่านสีแดงกางกั้นไว้ มีความอบอุ่นพอดีๆ เทวดาเหล่าก็ไปกางถวายพระมหาทองสุกด้วย พอกางเสร็จก็ไป แปลก ไม่บอกไม่ลาไม่ไหว้ ทำธุระเสร็จแล้วก็หายไป ไม่เหมือนเทพองค์อื่นๆ เวลาหา มีการกล่าวขานกัน แต่เทพนี้มาแปลก ท่านว่า

อาการของม่าน เวลาจะไปบิณฑบาตหรือ ยืน เดิน นั่ง นอน ปรากฏว่าจะกางกั้นไว้ ไม่กว้างไม่แคบ พอดีๆ ตื่นเช้าถามพระมหาทองสุกว่า "หนาวไหม"

"ไม่หนาว"

แต่ท่านจะรู้ว่ามีม่านกั้นหรือเปล่าไม่ได้ถาม แต่ตัวท่านพระอาจารย์เห็นม่านกั้นพระมหาทองสุกอยู่ พอไปบิณฑบาต ชาวบ้านร้องทักว่า "ตุ๊เจ้าบ่หนาวก๊าๆ " ตลอดทาง

ท่านว่าม่านนั้นค่อยๆ จางไป พร้อมกับอากาศค่อยอุ่นขึ้น จนบัดนี้ก็ไม่เคยเห็นท้าวเวสสุวรรณอีก

(หนังสือ "รำลึกวันวาน" หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ)



 
ปริยัติ ... เรียนรู้ คัมภีร์
ปฏิบัติดี ... รู้ทัน กิเลส
ปฏิเวธ ... รู้แล้ว ละ วาง

(พระธรรมคำสอน...ท่านพ่อลี ธัมมธโร)

 

 

เราเกิดมา นับอสงไขยไม่ถ้วน ... น้ำในแม่น้ำ
มหาสมุทรน้อยใหญ่ทั้งหลายนะ ก็ยังน้อยกว่า
"น้ำตา" ที่เคยหลั่งริน เพราะ ความทุกข์ทั้งหลายเสียอีก

คนเราทุกคน ก็อยู่ใน "บัญชีตาย" ... พอเกิดมา เราก็เข้าคิว
รอเขาประหารชีวิต ... จะถึงตัวเราเมื่อไร ก็ไม่มีใครรู้
เราจะประมาทไม่ได้ ต้องรีบสร้างความดีของเรา ให้ถึงพร้อม

พระท่านถามว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่?
... แล้ว เราจะตอบท่าน ว่าอย่างไร?

(พระธรรมคำสอน...ท่านพ่อเฟื่่อง โชติโก)



"พระธรรม" ของพระพุทธเจ้านั้น
ไม่อาจพบด้วย ตำรา

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อชา สุภัทโท)


ทุกข์ มี ... เพราะ ยึด

ทุกข์ ยืด ... เพราะ อยาก
ทุกข์ มาก ... เพราะ พลอย
ทุกข์ น้อย ... เพราะ หยุด
ทุกข์ หลุด ... เพราะ ปล่อย

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อชา สุภัทโท)
สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่เป็น "สิ่งสมมติ"
ที่เราสมมติ ขึ้นมาเองทั้งสิ้น ... สมมติแล้ว ก็หลงสมมติ ของตัวเอง
เลยไม่มีใคร วาง ... มันเป็นทิฏฐิ มันเป็นมานะ ความยึดมั่นถือมั่น
... เป็นเรื่องวัฏสงสาร ที่ไหลไปไม่ขาด ไม่มีทางสิ้นสุด
ทุกสิ่ง-ทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว
มีแต่ ความเห็นของเราเท่านั้น ที่ผิด
โลกอันนี้ ไม่ต้องแก้ปัญหาอะไร ให้มันมากมาย

มาแก้ ความเห็นของเรา มาแก้ ความคิดของเรา
มาแก้ ทิฏฐิของเรา ... ให้มีความเห็น อันถูกต้อง
เป็น "สัมมาทิฏฐิ" เท่านั้น

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อชา สุภัทโท)

" ทุกอย่างนั้นให้รู้จากตัวเราดีที่สุด คนอื่นพูดก็ไม่เท่าเรารู้เห็น หากเราไม่พ้นทุกข์ในชาตินี้ ความรู้เหล่านี้ก็จะติดจิตติดใจเราไปทั้งชาตินี้และชาติหน้า ถ้าอยากรู้ว่าบุญบาปนั้นเป็นอย่างไรให้ภาวนาดูเอา ภาวนาจะเป็นตัวทำให้รู้เรื่องบุญบาปและต้นสายปลายทางที่มาของบุญบาป ".. 
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

คนมีศรัทธาในทาน บางครั้งก็สงสัยในทาน คนมีศรัทธารักษาศีล บางครั้งก็สงสัยในศีล คนภาวนาจนตนเองรู้แจ้งเห็น
ริงจะไม่สงสัยในเรื่องศีลทานภาวนา เพราะจิตมันเปิดความจริงออกมาให้เห็นทั้งหมด 

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม



ไปที่ไหน ก็อย่าลืม "พุทโธ" ภายในใจ
ให้พุทโธๆ เสมอไป ใจจะสงบ เย็น เป็นสุขอยู่กับตัว
ตลอดกาล สถานที่

(พระธรรมคำสอน...หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)




เรา "ภาวนา" จนกระทั่ง แทบเป็น-แทบตาย
จนเอาชีวิตเข้าแลก จุดมุ่งหมายครั้งสุดท้าย
ก็คือ "สติ" ตัวเดียวเท่านั้น





เมื่อจิตมาจดจ้อง อยู่ที่คำว่า "พุทโธ"
ให้พิจารณา ตามองค์ฌาน ๕ ... การนึกถึงพุทโธ เรียกว่า "วิตก"
จิตอยู่กับพุทโธ ไม่พรากจากไป เรียกว่า "วิจารณ์"
หลังจากนี้ "ปีติและความสุข" ก็เกิดขึ้น ... เมื่อปีติและความสุข
เกิดขึ้นแล้ว ... จิตของผู้ภาวนา ย่อมดำเนินไปสู่ "ความสงบ"

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)



ใครมาปวารณาว่า เป็นญาติ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นอา


เป็นหลาน ก็แสดงไป ... เขาจะเลิกรัก เลิกนับถือ ก็ "สบายๆ"

คนที่เกื้อกูลกัน ถึงเป็นคนอื่น ก็นับเป็นเหมือนพี่น้อง

คนที่เป็นพี่น้องกัน แต่ไม่เกื้อกูลกัน ก็เป็นเหมือนคนอื่น
"พยาธิ" เกิดในตัวเราเองแท้ๆ ยังไม่มีประโยชน์เลย
แต่ "ยา" เกิดในป่า กลับมีประโยชน์มหาศาล

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

 

การหลุดพ้นนั้น จะต้องทำจิตใจของตน ให้หมดกิเลส
หมดสิ้น จากทุกข์ทุกอย่าง หมดสิ้น จากสิ่งที่อยากได้
สิ่งที่เรียกว่า โลภ โกรธ หลง ตัดสิ่งนี้ให้หมดสิ้น
และ "เจริญวิปัสสนากรรมฐาน" จึงได้พบ ทางหลุดพ้น
 

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อเกษม เขมโก)


ชนะ ความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบ
ที่ล่วงทางกาย-วาจาด้วย "ศีล"

ชนะ ความยินดี-ยินร้าย หลงรัก-หลงชัง
ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลาง ที่เกิดในใจได้ด้วย "สมาธิ"

ชนะ ความเข้าใจผิด รู้ผิด เห็นผิด จากความเป็นจริง
ของสังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ด้วย "ปัญญา"

(พระธรรมคำสอน...ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต ธัมมวิตักโก)
 
 
 

มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูด เท่าที่จำเป็นจะต้องพูด
ด้วยความมีสติ รู้ตัวอยู่ ... การพูดมาก มีโอกาสพูดผิดได้มาก
ไม่เกิดประโยชน์ แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย

เป็น "ผู้ฟัง" แล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้ จะได้ประโยชน์กว่า
... คนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังที่โทษน้อย หรือ ไม่มีเลย
แต่ เป็นผู้ได้รู้ มากกว่าผู้พูด

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร)
 
 
การที่เรามี "โอกาส" ปฏิบัติธรรม ที่ถูกทางเช่นนี้ มีน้อยมาก
หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไป เราจักหมดโอกาส
พ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วเราจะหลง อยู่ในความเห็นผิด
อีกนานแสนนาน ... เพื่อ ที่จะพบธรรม อันเดียวกันนี้

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)

สัพเพ สังขารา สัพพะ สัญญา อนัตตา
เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี
เพราะไม่ได้เข้าไป เพื่อปรุงแต่ง ... ครั้น เมื่อความปรุงแต่งขาดไป
สภาพ แห่งการเป็นตัวตน ไม่มี ... ความทุกข์ จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
 

พุทโธเป็นอย่างไร 

หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่า พุทโธเป็นอย่างไร หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า 
เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนกับตำรับตำราหรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็ภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ จิตของเราสงบเราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา

ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ แล้วพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า

พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง..... เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมา

ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ แล้วพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า 
พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง..... เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมา

เป็นของภายนอก 

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๒๔ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล อยู่ในงานประจำปีวัดธรรมมงคล สุขุมวิท กรุงเทพฯ มีแม่ชีพราหมณ์หลายคนจากวิทยาลัยครูพากันเข้าไปถาม ทำนองรายงานผลของการปฏิบัติวิปัสสนาให้หลวงปู่ฟังว่า เขานั่งวิปัสสนาจนจิตสงบแล้ว เห็นองค์พระพุทธรูปอยู่ในหัวใจของเขา บางคนว่าได้เห็นสวรรค์วิมานของตัวเองบ้าง บางคนว่าเห็นพระจุฬามณีเจดีย์สถานบ้าง พร้อมทั้งภูมิใจว่า เขาวาสนาดี ทำวิปัสสนาได้สำเร็จฯ 

หลวงปู่อธิบายว่า 

“สิ่งที่ปรากฏเห็นทั้งหมดนั้น ยังเป็นของภายนอกทั้งสิ้น จะนำเอามาเป็นสาระที่พึ่งอะไรยังไม่ได้หรอก”

 
"กรรม" อันเป็นสมบัติ แห่งสัตว์โลกทั้งหลาย

กายซ้ำซาก จำเจ เป็นวัฏฏะ

กรรมอันทำแล้ว ... ไม่เดือดร้อนในภายหลัง
เป็น "กรรมดี" เป็นกรรมที่สัตบุรุษ ชื่นชมยกย่อง

กรรมอันทำแล้ว ... เดือดร้อนในภายหลัง
กรรมนั้นเป็น "กรรมชั่ว" เป็นของเผ็ดร้อน มีทุกข์มาก

กรรมอันใด ... ไปสู่มรรค นิโรธ ความดับทุกข์
กรรมนั้นเป็น "กรรมเหนือกรรม"

(พระธรรมคำสอน...สมเด็จพระพุฒาจารย์ "โต พรหมรังสี")



 


ทุกสิ่งทั้งหลายในโลก ไม่มีอะไรถาวร


จะต้องเสื่อม โดยธรรมชาติ-ธรรมดา ทุกอย่าง
ฉะนั้น จึงไม่ควรไปสนใจ กับ สิ่งที่ไม่ถาวรเหล่านี้

คนจะสวย-จะงาม ก็ต้องแก่และตาย
กุหลายสวย ก็ต้องโรย ดอกบัวงาม ก็ต้องร่วง
มะม่วงสุกหอม ก็ต้องมีแมลงกิน ... สิ่งที่ถาวร และไม่ตายนั้น
คือ "ดวงจิต" อย่างเดียว ... สิ่งนี้ จึงควรสนใจ และรักษาให้มาก

 

คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มีภาวนา = ก็เท่ากับ ถือศาสนา "เพียงครึ่งเดียว"
เหมือน คนที่อาบน้ำแค่บั้นเอว ... ไม่ได้ รดลงมาแต่ศีรษะ
ก็ย่อมจะไม่ได้รับ ความเย็นทั่วตัว เพราะ ไม่เย็นถึงจิต-ถึงใจ

(พระธรรมคำสอน...ท่านพ่อลี ธัมมธโร)



 


ตัณหารักเมีย … เปรียบเหมือน เชือกผูกคอ


ตัณหารักลูกรักหลาน ... เปรียบเหมือน ปอผูกศอก
ตัณหารักวัตถุข้าวของต่างๆ ... เปรียบเหมือน ปลอกผูกตีน

สมบัติพัสถานต่างๆ ที่สร้างสมไว้ ... เมื่อตายลง
ไม่เห็นมีใคร หาบหามไปได้เลย สักคนเดียว
มีแต่ คุณงามความดี กับ ความชั่วเท่านั้น ที่ติดตัวไป

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)


บุญ คือ ความสุข ... บุญ คือ ความเจริญ
บุญ คือ คุณงามความดี ... มันตรงไหนล่ะ?

"เงิน" เขาก็ไม่ได้ว่าเขามีความสุข ถามดูซิ เงินเจ้ามีความสุขมั้ย?
เขาเฉย ไม่ใช่เรอะ ... นี่แหละ ถ้าใจเรา "ไม่สงบ" มันก็ไม่มีความสุขล่ะ
... จำไว้ ทำอะไรๆ ก็พุทโธ กลัวก็พุทโธ ใจไม่ดีก็พุทโธ ขี้เกียจก็พุทโธ
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ถ้าใจเราดีแล้ว ทำอะไรก็ดี ไปไหนๆ ก็ดี

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)

    

เรื่อง "สมมุติ" นี่ ... สัตว์ทั้งหลาย จมอยู่ใน มหาสมุทร


จมอยู่ที่ สมมุติ เป็นนั่น-เป็นนี่ ... หากเราจำแนก แจกออกแล้ว
มันก็ ไม่มี ... พอจิตมันว่างหมดแล้ว ก็ไม่มีอะไร ไม่มีภัย-ไม่มีเวร

นี่ เราไปก่อกรรม-ก่อเวร สมมติ เป็นอันโน้น สมมติ เป็นอันนี้
มันก็ "หลงสมมติ" นี่สิ! ... สัตว์ทั้งหลาย คาอยู่ที่นี่
จม ในมหาสมุทรนี่ ข้ามไม่ได้ ... ติ
ต้องพ้นจาก "สมมุติ
" สิ

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
 
 

ความไม่ตั้งใจ นั่นแหละ ที่ทำให้ไม่มีเวลา
ถ้า "ใจตั้งใจ" ... ก็มีเวลา

วันเวลา ที่หมดสิ้นไป โดยไม่ได้ทำอะไร ที่เป็นคุณค่า
เป็นประโยชน์แก่ตนเองบ้าง ในชีวิต ที่เกิดมาในโลก
และ ได้พบพุทธศาสนานี้ ... ช่างเป็นชีวิต ที่น่าเสียดายยิ่งนัก

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)


เกิดมาภพใด-ชาติใด ก็ทุกข์แย่ เต็มประดา


ทุกข์ ตั้งแต่วันเกิดถึงวันแก่ ... ทุกข์ จากวันแก่
ถึงวันแตกดับวันตาย ทุกข์ถ้วนหน้า ไม่มีใครข้ามมันไปได้

จึงให้เรามาสนใจ ในการรวมจิตใจของเรา
มาให้สงบระงับ ตั้งมั่น เที่ยงตรง อยู่ภายในดวงใจให้ได้

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

 

ธรรมทั้งหลาย ไหลมาจาก "เหตุ"
ให้กำหนดเหตุ รู้เท่าทันเหตุ เหตุดับลง จิตก็เป็นพุทโธ ก็สบายเท่านั้น
นั่นแหละ คือ ที่สุดของวิบากกรรรม ... นั่นแหละ คือ ที่สุดของวัฏฏะ

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)
หลวงปู่แหวน :  "??? พากัน ลำบากลำบน มากันทำไม"
อุบาสิกา        :  "ต้องการ มากราบบารมีของหลวงปู่เจ้าค่ะ"

หลวงปู่แหวน :   "บารมี ... ต้องสร้างเอา
เหมือนอยากให้มะม่วงของตน มีผลดก ก็ต้องหมั่นบำรุง รักษาเอา
ไม่ใช่แห่ ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุง
ต้นมะม่วงของตนเอง ... การสร้างบารมี ก็เช่นกัน ต้องสร้าง ต้องทำเอาเอง
  
(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)
 
เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด อยู่นี้แหละ สัจจธรรมข้อนี้

ใครๆ ก็พ้นไปไม่ได้ ... นั่งอยู่ก็ตาย นอนอยู่ก็ตาย
กินอยู่ก็ตาย ไม่กินก็ตาย เจ็บป่วยก็ตายได้ ไม่เจ็บป่วยก็ตายได้

"ความตาย" มีอยู่ทุกฐานะสถานที่ ความตาย มันครอบงำเราอยู่ทุกเมื่อ
เราต้องหา ที่พึ่ง อันประเสริฐไว้เสียแต่บัดนี้ แต่ยังมีชีวิตอยู่อย่างนี้
ยังแข็งแรงอยู่อย่างนี้ ... ถ้าร่างกาย-จิตใจ มันไม่อำนวยแล้ว
จะไม่คิดถึงอะไร จะไปยึด-ไปถือเอาอะไร เป็นที่พึ่ง มันยาก

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)


ถ้าเราแผ่เมตตาเหมือนกับพระอาทิตย์ส่องแสง เมตตานั้นจะมีพลังสูงยิ่ง เพราะธรรมชาติของพระอาทิตย์ขณะที่ส่องแสงไม่ได้เลือกชุมชน สรรพสัตว์ยากดีมีจน อยู่ที่สูงหรือที่ต่ำ จะใกล้หรือไกล ก็ได้รับความร้อนเท่ากัน เมตตาธรรมก็เช่นกัน ขอให้แผ่ไปให้แก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะรับได้มากน้อย สุดแต่วาสนาบารมีของผู้นั้น

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ผู้ใดรักษาศีล มิขาดตกบกพร่อง ไหว้พระสวดมนต์เจริญสมถะและวิปัสสนาตามสมควร ได้ปัญญาตามวาสนา โอกาสที่จะพ้นจากการท่องเที่่ยวไปในภพน้อย ภพใหญ่ เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เป็นวัฏจักร ก็พอจะมองเห็นทางมรรคผลนิพพานอยู่ไม่ไกล จงรีบทำความเพียรเสียเพื่อมรรคผลนิพพานนั้น แล้วจะพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

เวลา กิเลส มันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ รู้ทันมัน เดี๋ยวนี้ มันก็ดับไป เดี๋ยวนี้แหละ ..ตัว "สติ" มันปกครองอยู่เสมอ
ถ้ามีสติ อยู่ทุกเมื่อ มันบ่ได้คุมมันล่ะ ครั้นเกิดขึ้น รู้ทัน มันก็ดับ รู้ทัน ก็ดับ รู้ทัน ก็ดับ ..คิดผิด ก็ดับ คิดถูก ก็ดับ พอใจ ไม่พอใจ ก็ดับลงทันที ที่ "ตัวสติ"..

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

  
 

"เวทนา" ท่านก็ให้รู้เท่านั้น อย่าไปหลงกับเวทนา
สุขก็ให้รู้เท่า ทุกข์ก็ให้รู้เท่า อุเบกขาก็ให้รู้เท่า คือ เราแก้ไขไม่ได้

บางคน อาจจะไม่ค่อยทำสมาธิ แล้วก็ปล่อยปละละเลย
แล้วจิตใจมันก็ต่ำลงๆ ... ในที่สุด "พลังจิต" ที่หามาได้แต่ก่อน
ก็จะหมดไป สิ้นไป แล้วก็เหลือเป็นธรรมดา 

แล้วก็มีแต่สิ่งที่ทำให้เราเกิดโทษขึ้นมาในตัวของเรา

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)



 

 

"สติ" อยู่ที่ไหน? ... สติ ก็อยู่ที่ใจนั้นแหละ
คล้ายๆ กับว่า เอาตัวเองรักษาตัวเอง ก็ใจนั้นมีสติ
ก็เอาสติที่มีอยู่ กับตัวเอง รักษาตัวเอง
แล้วก็เสก "พุทโธ" ลงไป เสกให้มากเท่าที่จะมากได้

ถ้าใครอยากเจอ "ของดี" อันที่มีในตัวเอง
ไม่จำเป็นกับเรื่องอื่น คือ เราเสกพุทโธให้มาก
เรียกว่า "พุทธาภิเษกตัวเอง" เสกตัวเองให้เป็นพุทธะ
 

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก)
 
 
 

ยังจะพากันเกียจคร้านอยู่ ก็ช่วยไม่ได้
ก็ไม่เห็นพากันไปนั่ง เดิน ไปฝึกปฏิบัติอะไรเลย
... บุคคลที่มีกิเลสเบาบาง ฟังนิดเดียว ไปแก้ไข
ปรับปรุงตัวเอง อยู่ตลอดเวลา

อยากจะรู้ธรรม อยากเข้าถึงธรรม เราก็ต้องทำ
... ถ้าเราไม่สร้างขึ้นมา ก็ไม่มี เราต้องพยายามสร้างขึ้นมา
สร้างความว่าง ความสงบ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
นั่นแหละ เขาเรียกว่า "ทรัพย์ภายใน"

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)
  
 

ขั้นแรก ต้องทำใจให้สงบ ให้นิ่งก่อน เหมือนกับ "น้ำ"
ถ้าน้ำไม่นิ่ง น้ำจะขุ่น จะมองไม่เห็นอะไรในน้ำ
จิต ก็เช่นเดียวกัน ... ถ้าจิตไม่สงบ จิตไม่นิ่ง จิตก็จะไม่เห็น
"อริยสัจ ๔" ที่อยู่ภายในจิตเอง


เวลาจิตสงบแล้วนี้ จิตจะใส ... เวลาเกิดทุกข์ขึ้นมา ก็จะเห็น
จะเห็นทุกข์ ที่เกิดจาก "ความอยาก" ของตนเอง ... จะดับความทุกข์
ก็ใช้ปัญญา คือ เห็นความจริง ของสิ่งที่จิต เกิดความอยาก
... เป็นของชั่วคราว จะมีความทุกข์ ตามมาต่อไป

(พระธรรมคำสอน...หลวงพ่อสุชาติ อภิชาโต)



"ยากนัก" ... หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

ยากนัก ที่จะได้เกิด ... เป็นมนุษย์

เพราะ ต้องตั้งอยู่ ในธรรมของมนุษย์ คือ ศีล ๕
และ กุศลกรรมบท ๑๐ ... จึงจะได้เกิด มาเป็นมนุษย์
ชีวิต ที่เป็นมานี้ ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก
เพราะ อันตรายชีวิต ทั้งภายใน-ภายนอก มีมากต่างๆ

การที่ได้ฟังธรรม ของสัตตบุรุษ
คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ก็ได้ด้วย ยากยิ่งนัก
เพราะ กาลที่เปล่าว่างอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น
ในโลกยืดยาวนานนัก บางคาบ บางสมัย จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น
ในโลก ... สักครั้ง ... สักคราวหนึ่ง

เหตุนั้น เราทั้งหลาย ... พึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด
อย่าให้เสีย ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนานี้เลย


 

ปัญหาเกี่ยวกับพุทโธ

โยม : หลวงปู่ครับผมได้ยิน พระบางรูปหรืออาจารย์บางท่าน สอนว่าพุทโธพาเราไปได้แค่พรหมไม่สามารถพาเราไปนิพพานได้นี่ถูกต้องไหมครับ

หลวงปู่ : คุณดูนั้น (ท่านชี้มือไปที่ต้นสะเดาข้างอุโบสถ) คุณว่าต้นมะขามที่ขึ้นอยู่ข้างต้นสะเดา มันจะกลายเป็นต้นสะเดาได้ไหมหล่ะ

โยม : ไม่ได้ครับหลวงปู่

หลวงปู่ : หือ ไม่ได้หรอ เอาใหม่นะ ถ้าต้นมะขามออกใบ ออกดอก ออกผล แล้วร่วงหล่นลงมาที่โคนของต้นสะเดา ย่อยสลายกลายเป็นธาตุอาหารในดิน รากของต้นสะเดาก็ดูดเอา ปุ๋ยนั้นไปหล่อเลี้ยงลำต้น ออกเป็นใบสะเดา ดอกสะเดา ผลสะเดา ผลสะเดาก็ตกลงมาเป็นต้นสะเดาเล็กๆ หลวงปู่ถามคุณอีกครั้งว่า มะขามกลายเป็นสะเดาได้ไหม

โยม : ได้ครับผมหลวงปู่

หลวงปู่ : เออ พุทโธ ที่คุณว่า ไม่พาคุณไปนิพพานหรอ แต่คุณต้องอาศัยพุทโธพาคุณไปนิพพาน นิพพานหน่ะประตูไม่กว้างนะและก็ไม่แคบ พอดีตัวคุณเลยหล่ะ คุณจะเอาอย่างอื่นเข้าไปด้วยไม่ ได้ บุญก็เข้าไม่ได้ บาปก็เข้าไม่ได้ ศีลก็เข้าไม่ได้ ธรรมก็เข้าไม่ได้ พุทโธก็เข้าไม่ได้ คุณต้องทิ้งหมด ทั้งดีทั้งชั่ว เข้าไปแค่ตัวคุณคนเดียว พุทโธ เป็นบาทเป็นฐาน เป็นสมถะที่เข้าสู่วิปัสสนา วิปัสสนาตัวปัญญานั้นถึงจะพาคุณตัดกิเลสได้ แต่วิปัสนาของคุณต้องอาศัยพุทโธ อาศัยสมถะ วิปัสนาเป็นรถ สมถะเป็นน้ำมัน รถที่ขาดน้ำมัน มันจะวิ่งไหมหล่ะ พองหนอ ยุบหนอก็ดี
นะ มะ พะ ธะ ก็ดี สัมมาอรหังก็ดี ล้วนแต่เป็นปุ๋ยให้พระนิพพานเหมือนกันหมด เหมือนต้นมะขามที่กลายเป็นสะเดานั้นไง เข้าใจนะ

จากเพจหลวงปู่ไดโนเสาร์ค่ะ

 

 
สิ่งใด เกิด ... สิ่งนั้น ตาย
สิ่งใด ไม่เที่ยง ... สิ่งนั้น เป็นทุกข์
สิ่งใด เป็นทุกข์ ... สิ่งนั้น เป็นอนัตตา
ผู้ใด เห็นอนัตตา ... ผู้นั้น เห็นพระนิพพานแล

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ขาว อนาลโย)


พระพุทธเจ้าต้องการให้จิตมันเห็นจิต มันไม่เห็น ให้บริกรรมให้เห็น 

ต้องการให้มันเบื่อหน่าย ให้มันเห็นว่าไม่ใช่ตน 
สิ่งเหล่านี้ ธาตุทั้ง ๑๘ ก็ดี ล้วนตกอยู่ในไตรลักษณ์ทั้งนั้น 
อายตนะก็ดีตกอยู่ในไตรลักษณ์หมดทั้งนั้น 

เรามาสำคัญว่าหู ว่าจมูก ว่าตา ว่าลิ้น ว่ากาย ว่าใจเป็นของเรา
เป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่น นั่งก็ให้มีความเจ็บ เจ็บบั้นเอว ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขาอะไรนั้น สมาธิก็ต้องออก

ท่านจึงให้สู้มัน ไม่ต้องหลบมัน เราจะสู้ข้าศึกก็ต้องอย่างนั้นแหละ ต้องมีขันติความอดทน ทนสู้กับความเจ็บปวดทุกขเวทนา ดูมัน จิตมันถูกอันใดอันหนึ่ง

หลวงปู่ขาว อนาลโย

 

ให้พากันภาวนาอยู่ สมาธิมันไม่มีที่อื่น
ให้นั่งภาวนา พุทโธ ๆ
ไม่ต้องร้องให้มันแรงดอก ให้มันอยู่ในใจซื่อ ๆ ดอก

การภาวนาก็เป็นอริยทรัพย์ภายใน
มันจะติดตามไปทุกภพทุกชาติ
ติดไปสวรรค์ ลงมามนุษย์
มาตกอยู่ในที่มั่งคั่งสมบูรณ์บริบูรณ์
ไม่ยากไม่จน ทรัพย์อันนี้ติดตามไป บ่มีสูญหายดอก
ตามไปจนสิ้นภพสิ้นชาติ
หรือจนเหนื่อยหน่ายต่อความชั่ว
เบื่อหน่ายไม่มีความยินดี ไม่อยากเกิดอีก
ภาวนาไป ๆ ก็จะไปสู่พระนิพพาน
ตามเสด็จพระพุทธเจ้าเท่านั้นแหละ
ก็สบายเท่านั้นแหละ

หลวงปู่ขาว อนาลโย

  
 

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ... เป็นของ "ธรรมดาทุกข์"
พ้น จากสิ่งเหล่านี้แล้ว ... เป็น "ธรรมดาสุข"

ใจใด ... เห็นภัยในสังสารวัฎ อย่างเต็มที่
ใจนั้น ... ก็ดับตัณหา และ สมุทัยไปในตัว
ขณะเดียวกัน สติปัญญาก็พลันทันกัน เป็นกองทัพธรรม
พระปัญญา เป็นหัวหน้านำ ไม่ใช่สมาธิหัวตอ

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)



ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ใดๆ ในโลกล้วนทุกขัง ใดๆ ในโลกล้วนอนัตตา ผู้ใดพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นพร้อมกันในขณะเดียว พร้อมกับลมเข้าออก ผู้นั้นก็จะเบื่อหน่าย คลายเมา ในวัฏสงสาร จะสิ้นความสงสัยในวัฏสงสาร จะเป็นตัวมหาศีล จะเป็นตัวมหาสมาธิ จะเป็นตัวมหาปัญญา
(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)

 “..ผู้รักใคร่ภาวนาอยู่เป็นเนืองนิจ เรียกว่าผู้นั้นบารมีแก่กล้าแล้ว ท่านผู้ใดขี้เกียจ ก็ให้ทราบเถิดว่าบารมียังอ่อน เหลวไหลมาก..”

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)

  
"เบื้องต้น" … พระองค์ได้ยกส่วนผิด ๒ อย่าง
ซึ่งให้พวกเรา ละ เลิก ผู้มุ่งหวังโมกขธรรมเพื่อพ้นทุกข์
คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค

"กาม" คือ ความรัก ... "อัตต์" คือ ความชัง
ถ้าจิตใจของเรา ยังเอียงมาข้างรักบ้าง เอียงข้างชังบ้าง
ก็ไม่ถูกมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง

(พระธรรมคำสอน...พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ)

 


แม้ภูเขาสูงแสนสูง หากบุคคลผู้มีความเพียร
พยายามปีนป่ายขึ้นไป จนถึงยอด ... ภูเขาสูงแสนสูง
ก็ต้องอยู่ ใต้ฝ่าตีนของคนผู้นั้น


(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ท่อน ญาณธโร)



 
 

ถ้าจิตเหม็นเสียอย่างเดียว วาจาก็เหม็นด้วย
ถ้าเอ็งหมั่นชำระจิต ให้หายเหม็น วาจาก็หายเหม็นได้
ส่วนกายนั้น แก้ไม่ได้ มีแต่ขี้ทั้งนั้น

จิตนั้นแก้ได้ ต้องแก้ที่จิต ทุกข์-สุข-เกิด-ดับ
ต้องแก้ที่ตรง จิตนี้ ... สิ้นทุกข์-สุข รู้เกิด-ดับเมื่อไหร่
จิต ก็หายเหม็นเมื่อนั้น


(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่บุดดา ถาวโร)
 
จงเชื่อเถิดว่า บาปมี บุญมี สวรรค์มี นรกมี
ผู้ที่สร้างบาป ก็เหมือนกับ การดื่มยาพิษ ... อย่างไรเสีย
ย่อมได้รับโทษภัย ... เพียงแต่ว่า ยาพิษนั้น จะส่งผลเร็วหรือช้า

(พระธรรมคำสอน...หลวงปู่ศรี มหาวีโร)


ผู้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นผู้มีบุญอย่างยิ่ง แต่ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา คือปฏิบัติให้จริงตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเป็นผู้มีบุญสูงสุด


พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประเสริฐสุด ไม่มีที่เปรียบได้ เพราะพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะพาไปให้รู้จักพลังพิเศษ คือความคิดที่สามารถทำลายความทุกข์ได้ ตั้งแต่ทุกข์น้อย จนถึงทุกข์ทั้งปวง จนถึงเป็นผู้ไกลทุกข์สิ้นเชิง ไม่มีเวลากลับมาให้เป็นทุกข์อีกเลย ตลอดไป

ผู้มีพลังพิเศษพาหนีทุกข์ได้ พาดับทุกข์ได้ พาพ้นทุกข์ได้ คือผู้มีความคิดพิเศษ และความคิดพิเศษนี้เกิดได้จากความรู้จักปฏิบัติพระพุทธศาสนาเท่านั้น

"สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก"

คนส่วนมาก ยังมีความเชื่อว่า มีผู้ดลบันดาล ให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น
แต่ ทางพระพุทธศาสนาได้ แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน
จะมีสุข-หรือ-ทุกข์ ... เพราะ "กรรม"

พระพุทธศาสนา ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม ไม่ได้สอน
ให้ตกเป็นทาสของกรรม หรือ อยู่ใต้อำนาจของกรรม
แต่ สอน ให้รู้จักกรรม ... ให้มีอำนาจเหนือกรรม
ให้ควบคุมกรรมของตน ในปัจจุบัน

(พระธรรมคำสอน...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ)
 

เพียรเฝ้าทำจิตให้ว่างจากสิ่่งที่เป็นของหนักคือ ร่างกายเราเขาหรือขันธ์ ๕ 
ขจัดสิ่งวุ่นวายวิตกกังวลเรื่องต่างๆ ออกจากจิตเท่านั้น 
ทางปฏิบัตินิโรธสัญญา ก็เริ่มด้วยตัดจิตให้มีเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั่ว ๓ โลก นรกโลก เทวโลก รักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน

การเฝ้ากำจัดความคิดที่ไม่ดีไร้สาระออกจากจิตก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง 

การเฝ้าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในที่สุดก็แตกสูญสลายกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศ แยกกระจายจากอณูเป็นอะตอมเล็กๆ ละเอียด เป็นธาตุว่าง คือวิปัสสนาญาณ 

ผู้มีศีลเจริญสมาธิภาวนานิดเดียวตั้งจิตทำเพื่อจิตเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ก็เข้าถึงเมืองแก้วพระนิพพานได้ง่าย

หลวงพ่อดาบส สุมโน

วิธีทำจิตให้สะอาดว่างจากกิเลสแบบให้สังเกตหรือจับดูอารมณ์ตามความเป็นจริง แต่มิใช่ให้จับแบบยึดมั่นถือมั่น 

คือจิตมันชอบคิดเรื่องต่างๆอยู่เสมอ มันคิดอะไรก็เอาเรื่องนั้นแหละมาพิจารณาดูให้ลึกและไกลออกไป ให้เห็นความไม่คงที่ จะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็เท่ากัน ไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นจัง เป็นแก่นสารย่อมถึงความแปรผันดับสูญเสมอกัน 

เงาในกระจกหรือเงาในน้ำมิใช่ของจริงฉันใด สรรพสังขาราทั้งหมดก็ไม่ใช่ของจริงฉันนั้น หรือจะมองชีวิตทั้งหมดนี้เหมือนความฝันก็ได้ เพราะจุดจบของชีวิตคือความตาย ความตายของชีวิตร่างกายของคนนี่แหละ คือการตื่นจากความฝัน คือจิตออกจากร่างไปหาที่อยู่ใหม่ ที่อยู่ใหม่ของเราท่านเที่ยงแท้แน่นอนไม่ยอมแปรผันอีกต่อไปคือ แดนอมตะทิพยนิพพาน

หลวงพ่อดาบส สุมโน

นิพพานธาตุ คือ นิโรธธาตุ อันเดียวกัน 

มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้ในจิตเราท่านที่อยู่ในร่างกายที่สกปรกนี้

ทำจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ทันทีทั้งๆที่ยังไม่ตาย นิพพานไม่ใช่มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก แต่อยู่เหนือโลกทั้งสิ้น มีอยู่ทั่วไปถ้าจิตดับทุกข์ดับขันธ์ ๕ ว่างจากกิเลสจะรู้สภาวะพระนิพพานทันที 

นิโรธสัญญา คือทำจิตให้ว่างไม่มีอารมณ์ใดๆ ทั้งปวง คือเฉยๆ จิตจะสะอาดปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

จิตจะเข้าสู่ภาวะ ที่เป็นจิตพุทธะดั้งเดิม จิตประภัสสรนิโรธสัญญา ทำจิตให้ว่างจากพันธะใดๆในโลก

จะทำวิชชาให้สำเร็จด้วยฤทธิ์ก็ย่อมได้ เพราะจิตสงบทรงตัว แต่ท่านที่เจริญความว่างทางจิตแบบนี้ ท่านไม่ต้องการอิทธิฤทธิ์ใดๆ ความรู้พิเศษใดๆอีก ทั้งสิ้น เพราะจิตท่านอิ่มด้วยความสุข สงบ สบาย สว่างสดใส ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไป เป็นความสุขยอดเยี่ยม

ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้

หลวงพ่อดาบสสุมโน


MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY